กิจกรรมการประกวดแข่งขันเครื่องร่อนและเครื่องบินพลังยาง Esan Free Flight Championship ครั้งที่ 2

เผยเเพร่เมื่อ

วันที่ 28 มีนาคม 2567 ดร.ชูพงศ์ คำจวง นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร เดินทางเยี่ยมชมและสนับสนุนการจัดกิจกรรมการประกวดแข่งขันเครื่องร่อนและเครื่องบินพลังยาง Esan Free Flight Championship ครั้งที่ 2 โดยมีหัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์บรรยากาศและอวกาศ ร่วมกับกลุ่ม F1D Thailand พาเยี่ยมชมและทดสอบการบินเครื่องร่อนและเครื่องบินพลังยาง ในนามผู้จัดการแข่งขอพระขอบคุณท่านที่ให้การสนับสนุน การจัดกิจกรรม เพื่อพัฒนาครูและนักเรียน ให้มีความรู้ด้านวิทยาศาสตร์บรรยากาศและอากาศยาน ณ โรงยิมเนเซียม อาคาร 17 มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

กิจกรรมการประกวดแข่งขันเครื่องร่อนและเครื่องบินพลังยาง Esan Free Flight Championship ครั้งที่ 2

เผยเเพร่เมื่อ

ในวันที่ 28 มีนาคม 2567 นายมงคลชัย รัตนอ่อน ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร ให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธีเปิด ท่านอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร กล่าวตอนรับประธานในพิธี คณะผู้บริหาร และผู้เข้าร่วมแข่งขัน รองศาสตราจารย์ ดร.วิลาวรรณ์ คำหาญ หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์บรรยากาศและอวกาศ กล่าวรายงานถึงวัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรมการประกวดแข่งขันเครื่องร่อนและเครื่องบินพลังยาง Esan Free Flight Championship ครั้งที่ 2 จากนั้นท่าประธาน ผู้บริหารร่วมปล่อยเครื่องบินพลังยางเป็นการเปิดพิธี ต่อจากนั้นได้เดินชมการจัดแสดงความรู้เกี่ยวกับเครื่องร่อนและเครื่องบินพลังยาง แก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ณ โรงยิมเนเซียมหลังใหม่ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

การประกวดแข่งขันเครื่องร่อนและเครื่องบินพลังยาง “Esan Free Flight Championship” ครั้งที่ 2

เผยเเพร่เมื่อ

ศูนย์วิทยาศาสตร์บรรยากาศและอวกาศ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ดำเนินการจัดกิจกรรม “การประกวดแข่งขันเครื่องร่อนและเครื่องบินพลังยาง “Esan Free Flight Championship” ครั้งที่ 2” ในวันที่ 27-29 มีนาคม พ.ศ. 2567 เพื่อพัฒนาครู และนักเรียนให้มีความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์บรรยากาศและอวกาศ และความสามารถด้านอากาศยาน มีผู้เข้าร่วม จำนวนมากกว่า 140 ทีม จากโรงเรียนโรงเรียนทั่วประเทศ ซึ่งการประกวดแข่งขันในครังนี้จะทำการแข่งขันอีก 2 วัน ณ โรงยิมเนเซียมหลังใหม่ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

หัวหน้าศูนย์วิทยศาสตร์บรรยากาศและอวกาศ อาจารย์ นักวิจัย ผู้บริหารและบุคลากรสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ตอนรับการตรวจเยี่ยมโครงการที่ได้รับทุนสนับสนุนทุนวิจัย ของคณะผู้บริหารกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.)

เผยเเพร่เมื่อ

วันที่ 11 มีนาคม 2567

รองศาสตราจารย์ ดร. วิลาวรรณ์ คำหาญ หัวหน้าศูนย์วิทยศาสตร์บรรยากาศและอวกาศ ในนามหัวหน้าโครงการ ได้นำเสนอการดำเนินโครงการวิจัย และการพัฒนาแอปพลิเคชั่น Air E – SAN สำหรับเฝ้าระวังฝุ่น PM2.5 แก่ผู้สูงอายุต้นแบบ จากนั้นผู้บริหารกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ได้พบปะกับประชาชนในชุมชนเพื่อรับฟังความคิดเห็นและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นเพื่อพัฒนาแอปพลิเคชั่น Air E – SAN สำหรับเฝ้าระวังฝุ่น PM2.5 สำหรับเฝ้าระวังฝุ่น PM2.5 แก่ผู้สูงอายุต้นแบบ และได้มีการแลกเปลี่ยน ปัญหา อุปสรรค ของการดำเนินโครงการ ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร

ลงพื้นถ่ายทอดความรู้และการใช้แอปพลิเคชั่น Air E-san สำหรับเฝ้าระวังฝุ่น PM2.5 แก่ประชาชน ณโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร

เผยเเพร่เมื่อ

ในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2567 รองศาสตราจารย์ ดร. วิลาวรรณ์ คำหาญ หัวหน้าศูนย์วิทยศาสตร์บรรยากาศและอวกาศ ผศ.ดร.ศศิวรรณ ทัศนเอี่ยม ผศ.ดร.ณีรนุช วรไธสง และนักวิจัยศูนย์วิทยาศาสตร์บรรยากาศและอวกาศ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร บรรยายชี้แจ้งที่มาและความสำคัญของโครงการ และการใช้งานแอปพลิเคชั่น Air E – san สำหรับเฝ้าระวังฝุ่น PM2.5 โดย รศ.ดร.วิลาวรรณ์ คำหาญ บรรยายชี้เเจงสถานการณ์ และผลกระทบจากฝุ่นละออง แนวทางเฝ้าระวัง และป้องกันภัยสุขภาพจากฝุ่นละออง เทคนิคการออกกำลังกายเพื่อสร้างความแข็งแรงอย่างง่าย โดยผศ.ดร.ศศิวรรณ ทัศนเอี่ยม และผศ.ดร.ณีรนุช วรไธสง

พิธีมอบรางวัล SNRU Research & Innovation Award 2023

เผยเเพร่เมื่อ

ในวันที่ 12 ธ.ค. 2566 รองศาสตราจารย์ ดร. วิลาวรรณ์ คำหาญ หัวหน้าศูนย์วิทยศาสตร์บรรยากาศและอวกาศ เข้าร่วมรับช่อดอกไม้แสดงความยินดี จากอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ในพิธีมอบรางวัล SNRU Research & Innovation Award 2023 เนื่องด้วยจากการนำนักวิจัยเข้าร่วมประกวดนวัตกรรมระดับนานาชาติ ในงาน 2023 Kaohsiung International Invention and Design EXPO ณ Kaohsiung Exhibition Center เมืองเกาสง ประเทศไต้หวัน นำผลงาน “แบบจำลองการเกิดเมฆในเขตร้อนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำฝนเทียมสำหรับบรรเทาภัยแล้งในพื้นที่ทางการเกษตร” ได้รับรางวัล Silver Medal และ Hong Kong Special Gold Award จาก Hong Kong Yan Chai Steam Faire

2023 Kaohsiung International Invention and Design EXPO ณ Kaohsiung Exhibition Center

เผยเเพร่เมื่อ

ในระหว่างวันที่ 30 พ.ย. – 2 ธ.ค. 2566 รองศาสตราจารย์ ดร. วิลาวรรณ์ คำหาญ หัวหน้าศูนย์วิทยศาสตร์บรรยากาศ และอวกาศ นำนักวิจัยเข้าร่วมประกวดนวัตกรรมระดับนานาชาติ ในงาน 2023 Kaohsiung International Invention and Design EXPO ณ Kaohsiung Exhibition Centerเมืองเกาสง ประเทศไต้หวัน นำผลงาน “แบบจำลองการ เกิดเมฆในเขตร้อนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำฝนเทียมสำหรับบรรเทาภัยแล้งในพื้นที่ทางการเกษตร”

ซึ่งได้รับรางวัล Silver Medal และ Hong Kong Special Gold Award จาก Hong Kong Yan Chai Steam Faire โดยมี ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ให้เกียรติมอบรางวัล และร่วมแสดงความยินดี และ ดร.ณัฐชยวัศ สงวนไชยกฤษณ์ (อัครราชทูตที่ปรึกษาฝ่ายแรงงานไทย) ผู้อำนวยการสำนักงาแรงงานไทย เมืองเกาสงเป็นผู้แทนสำนักงานการค้าและเศษฐกิจไทยไทเปเดินทางเข้าเยี่ยมชมผลงานภายในงานนักวิจัย
ศูนย์วิทยาศาสตร์บรรยากาศและอวกาศ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ปรึกษาหารือโครงการวิจัยและพัฒนาแบบจำลองการเกิดเมฆในเขตร้อน

เผยเเพร่เมื่อ

วันที่ 17 ตุลาคม 2566 รศ.ดร.วิลาวรรณ์ คำหาญ หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์บรรยากาศและอวกาศ (CASS) มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ร่วมปรึกษาหารือโครงการวิจัยและพัฒนาแบบจำลองการเกิดเมฆในเขตร้อน ระหว่าง มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ กรมอุตุนิยมวิทยา กับกรมฝนหลวงและการบินเกษตร โครงการวิจัยเรื่อง การพัฒนาแบบจำลองการเกิดเมฆฝนในเขตร้อนเพื่อประเมินความเป็นไปได้ของการเกิดเมฆฝนในช่วงฝุ่น PM2.5 เกินค่ามาตรฐานจากข้อมูลดาวเทียม (ปีที่2)

รู้ทันการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ

เผยเเพร่เมื่อ

วันที่ 4 กันยายน 2566 รศ.ดร.วิลาวรรณ์ คำหาญ หัวหน้าศูนย์ และคณะดำเนินโครงการ ให้ความรู้เรื่อง “รู้ทันการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ” ในโครงการการพัฒนาการผลิตพืชผักปลอดภัย สำหรับเกษตรกรผู้กำลังเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ ณ บ้านด่านม่วงคำ อ.โคกศรีสุพรรณ จ.สกลนคร

โครงการศึกษาทบทวนศักยภาพและปรับปรุงแผนที่พลังงานลมของประเทศไทย

เผยเเพร่เมื่อ

วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ.2566 นำโดย รศ.ดร.วิลาวรรณ์ คำหาญ และนางสาวอรดี พิลาโฮม นักศึกษาปริญญาเอก เข้าร่วมฟังสัมมนาเผยแพร่ผลการศึกษา “โครงการศึกษาทบทวนศักยภาพและปรับปรุงแผนที่พลังงานลมของประเทศไทย” ณ ห้องกษัตริย์ศึก 2 ชั้น 4 โรงแรมเดอะ ทวิน ทาวเวอร์ กรุงเทพฯ